ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การดำน้ำ

คือ ปัจจุบันกิจกรรม “ดำน้ำ” กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับเมืองไทยของเรานับว่าโชคดีทีมีแหล่งดำน้ำทั้งสองฝั่งทะเล คือ ด้านทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีจุดดำน้ำสำคัญที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลกอย่าง สิมิลัน ริเชลิว และหินม่วงหินแดง จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้มีชาวไทยนับแสนคนให้ความสนใจกิจกรรมดำน้ำ ดังจะเห็นได้จากข่าวคราวที่เผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ อยู่เสมอ

คำว่า “ดำน้ำ” ที่เราใช้เรียกกันนั้นตรงกับภาษาอังกฤษที่ใช้ว่า


SCUBA DIVING   ย่อมาจากคำว่า  “Self Contained Underwater Breathing Apparatus” Diving
หมายถึง การดำลงไปใต้น้ำด้วยอุปกรณ์ที่มีอากาศสำหรับหายใจใต้น้ำ แต่ก็ไม่ใช่ว่าใคร ๆ ก็สามารถดำน้ำได้โดยไม่ผ่านการฝึกฝนอย่างถูกวิธี

การเป็นนักดำน้ำจึงต้องเรียนจากครูผู้ฝึกสอนซึ่งมีทั้งครูที่ทำงานแบบอิสระ และครูจากบริษัทดำน้ำที่เรามักเรียกกันว่า “ร้านดำน้ำ” มีอยู่มากมายทั้งในกรุงเทพ ระยอง พัทยา และจังหวัดใหญ่ ๆ ทางภาคใต้ เช่น เกาะภูเก็ต หรือเกาะเต่า เป็นต้น (ดูรายชื่อร้านดำน้ำท้ายเล่ม) การดำน้ำอีกรูปแบบหนึ่งที่ดำเพียงผิวน้ำ มีหน้ากากและท่อหายใจทำให้มองเห็นและหายใจได้โดยสะดวก และมีตีนกบช่วยให้เคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว หากมีความชำนาญจะสามารถดำลงไปใต้น้ำได้ แต่มีระยะเวลาจำกัด เท่าที่สามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้ การดำน้ำที่ผิวน้ำแบบนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Snorkeling”

นักดำน้ำหรือที่คนไทยทั่ว ๆ ไปนิยมเรียกกันว่า มนุษย์กบ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ หาวิธีลงไปดูวิวใต้ทะเลสำเร็จโดยเข้าไปอยู่ในกล่องรูปวงกลมที่ทำด้วยกระจกแล้วหย่อนลงไปในทะเล ทำให้มองเห็นวิวรอบ ๆ ตัวได้

ต่อมาในปี ค.ศ. 1690 Halley Bell ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ช่วยให้อยู่ใต้น้ำลึกและนานขึ้น โดยการใช้ถังไม้ขนาดใหญ่คว่ำลงไปแล้วใช้ลูกตุ้มเหล็กขนาดใหญ่ถ่วงให้จมลงถึงพื้นน้ำข้างล้าง ภายในถังมีที่นั่งสำหรับคนสองคน และให้คนหนึ่งถือท่อที่ใช้เป็นสายอากาศต่อไปยังโดมกระจกที่ใช้ครอบหน้าอีกคนหนึ่ง ทำให้เดินออกไปดูสภาพใต้น้ำนอกถังได้ ปี ค.ศ. 1803 มีการประดิษฐ์ชุดดำน้ำลักษณะเป็นท่อกลมสวมติดกับกางเกง แล้วต่อสายอากาศขึ้นมาที่ผิวน้ำ ซึ่งมีอีกหลายวิธีจากนักประดิษฐ์ที่พยายามคิดค้นกันแต่ทั้งหมดเป็นการเอาอากาศโดยใช้สายต่อจากข้างบนซึ่งมีปัญหามาก และใช้เวลานาน

บางครั้งมีการทำงานใต้น้ำเช่นกู้สิ่งของต่าง ๆ จากเรือจม ใช้เวลาแต่ละครั้งนานมาก ทำให้ไนโตรเจนซึมเข้ากระแสเลือดได้ และมีการขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็ว ไนโตรเจนแปรสภาพเป็นฟองอากาศตามเส้นเลือดนักดำน้ำเหล่านั้นจึงเกิดปัญหาเจ็บป่วยอยู่เสมอ จึงมีการวิจัย ค้นหาสาเหตุ ในที่สุดก็ทราบที่มาที่ไป โดย Brooklyn Bridge ชาวนิวยอร์คเป็นผู้ค้นพบ และตั้งชื่อว่า “The Bends” ปี ค.ศ.1878 Paul Bert ชาวฝรั่งเศส ก็คิดวิธีการรักษาโรคเบนด์ได้สำเร็จด้วยวิธีที่เรียกว่า Decompression โดยใช้หลักการให้ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในห้องที่ค่อย ๆ เพิ่มความกดดันเข้าไปให้เหมือนกับอยู่ใต้น้ำ ทำให้ไนโตรเจน ที่เป็นฟองอากาศค่อย ๆ ซึมเข้าสู่กระแสเลือดเหมือนเดิมจากนั้นค่อย ๆ ลดความกดอากาศลง ไนโตรเจนจะค่อย ๆ ซึมออกมาเอง

บทความ : ครูแอร์ http://www.scubahome.net

สัตหีบมีอะไรดี

สัตหีบมีอะไรดี แบ่งเป็นหัวข้อได้อะไรบ้าง
ธรรมชาติ
ผู้คน
การใช้ชีวิต
ค่าครองชีพ
อาหารการกิน
การประกอบอาชีพ
แหล่งท่องเที่ยว